ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ (Types of Computers)

     ประเภทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน สามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 

3.1 ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
     ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ เครื่องซูปเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่
 สามารถคำนวนทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนหลานครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อม ดังนั้น ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (Processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน



3.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer)
     เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูปเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคิมพิวเตอร์ หรือ ไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบันองค์กรใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร  ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือ การให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใข้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเคอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก




3.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
     มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เที่ยบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น




3.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
     ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computet : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย กล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใข้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
       1. คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop computer)
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะมีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้นอักขระ




       2. โน้ตบุ๊ก (Notebook or laptop)
โน้ตบุ๊ก คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ในที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนังเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอ ๆ กับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ




       3. แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop computer)
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบ ชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal  Cisplay : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม




       4. ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop computer)
เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่น มีขนาดพอ ๆ สมุดท้่ทำด้วยกระดาษ




       5. เน็ตบุ๊ก (Netbook or laptop)
เน็ตบุ๊ก คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ก ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบท




       6. แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet computer)
แท็บเล็ตคิทพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน้ตบุ๊กแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น