การแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการทาางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สัญญาณทางไฟฟ้าแทนตัวเลขศูนย์และหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสองแต่ละหลัก เรียกว่า "บิต"
และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมาเรียงกัน จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวนอักขระหรือสัญลักษณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ โดยรหัสมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากมี 2 กลุ่ม คือ รหัสแอสกีและรหัสเอบซีดิก
รหัสแอสกี รหัสแอสกีมาจากชื่อภาษาอังกฤษคำเต็มว่า American Standard Code Information Inferchange คือ รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง กำหนดขึ้นโดยหน่วยงานกำหนดมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา รหัสอักขระแต่ละตัวประกอบด้วย 8 บิต คือ
บิตที่ 7 6 5 4 3 2 1 0
ตัวเลขฐานสอง 8 บิต หรือ 1ไบต์ สามารถใช้แทนรหัสต่างๆได้ถึง 256 ตัว แต่รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 128 ตัว
ตารางรหัสแอสกี
รหัสเอบซีดิก ย่อมาจาก Extened Binary Coded Decimal Interchange Code เป็นการกำหนดรหัสแทนตัวอักขระที่ใช้กันแพร่หลายอีกแบบหนึ่ง การกำหนดรหัสจะใช้ 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ต่อ 1 อักขระ เหมือนกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน คือ
บิตที่ 0 1 2 3 4 5 6 7
หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ มีค่าข้อมูลเป็นตัวเลขระบบฐานสองคือ 0 และ 1 บิตมักใช้เป็นหน่วยวัดความสามารถของไมโครโพรเซสเซอร์ในการประมวลผลข้อมูล รหัสเอบซีดิก
ระบบเลขฐานสอง ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องได้พบเจอกับจำนวนและการคำนวณอยู่ทุกวัน หากเราสังเกตจะพบว่าจำนวนที่เราคุ้นเคยอยู่ทุกวันนั้นล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นจากตัวเลข 10 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,และ9 ทั้งสิ้น ตัวเลขทั้ง 10 ตัวนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยนับจำนวนของมนุษย์ การที่มนุษย์เลือกเลข 10 ตัวในการแทนการนับ อาจเนื่องจากมนุษย์มีนิ้วมือที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยนับได้เพียง 10 นิ้ว จึงกำหนดระบบตัวเลขนี้ขึ้นมาและ เรียกว่า " ระบบเลขฐานสิบ "
ต่อมา เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทัลและใช้ระดับแรงดันไปป้าแสดงสถานะเพียง 2 สถานะ คือ ปิดและเปิด หากมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยทำงาน มนุษย์ต้องเรียนรู้ระบบเล๘ที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียงวองตัว จึงได้มีการคิดค้นระบบเลขฐานสองขึ้น เพื่อช่วยในการสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น